วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การนับ...ดวงไทย

ดวงไทยให้นับวันใหม่เมื่อตอน "ตะวันขึ้น" 
เช่น คุณเกิดเที่ยงคืน กับอีกหนึ่งนาที ของคืนวันเสาร์ 
ดวงไทยจะยังนับว่า คุณเป็นคนวันเสาร์
จะไม่ได้นับตาม "สูติบัตร" ของทางโรงพยาบาล
เพราะเขาจะเขียนว่าเป็นเวลาเที่ยงคืน หนึ่งนาทีของคืนวันอาทิตย์ 
โรงพยาบาลจะนับว่า คุณเกิดวันอาทิตย์
แต่ดวงไทย จะถือว่าคุณเป็นคนวันเสาร์





การนับวันทางโหราศาสตร์

http://www.myhora.com/


การนับวันเวลาเกิด :
ครั้งโบราณ ไม่มีนาฬิกา 
จึงถือเอาเวลาพระออกบิณฑบาต 
หรือเมื่อมองเห็นลายมือบนฝ่ามือชัดเจน (ไม่ใช้แสงไฟช่วย) 
ด้วยตาเปล่าให้นับเป็นวันใหม่ 
ซึ่งก็คือใช้เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นหรือประมาณ 06.00 น. 
เป็นเกณฑ์ในการเปลี่ยนวัน 

ในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีนาฬิกา 
การเทียบเวลาเปลี่ยนวันใหม่ เริ่มที่ 06.00 น. 
หรือตามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริง 
ดังนั้น การนับรอบวันที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ 
พิธีกรรม ศาสตร์โบราณต่างๆของไทย 
จะใช้ปฏิทินจันทรคติไทย 
โดยถือรอบวันตามดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นหลัก 
คือหนึ่งวันเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.- 05.59 น. 
(แตกต่างจาก รอบวันตามสากลซึ่งปฏิทินสุริยคติ 
หรือเป็นแบบที่ใช้ในสูติบัตร 
รอบวันจะเริ่ม 00.01 น.- 24.00น.) 

การนับรอบวันจันทรคติจะใช้แบบนั้นทั้งหมด 
จะมีวันพุธที่แยกย่อย 2 ช่วง 
คือ เกิดวันพุธช่วงเวลา 06.00 น.-17.59 น. 
จะเรียกว่า วันพุธกลางวัน 
แต่ถ้าท่านเกิดช่วงเวลา 18.00น.-05.59 น. 
จะเรียกว่า วันพุธกลางคืน หรือวันราหู 


สรุปเป็นหลักการง่ายๆ ก็คือ 
หากเวลาเกิดตามสูติบัตร 
อยู่ระหว่าง หลังเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้า (00.01- 06.00น.) 
สูติบัตรบอกว่าเกิดวันอะไรให้ย้อนมาหนึ่งวัน 
ก็จะได้วันทางจันทรคติ ที่ใช้สำหรับโหราศาสตร์ 
แต่หากเวลาเกิดตามสูติบัตรอยู่ช่วงเวลาอื่นใช้วันจันทรคติ 
แบบเดียวกับสูติบัตรได้เลย 
(ยกเว้น วันพุธกลางคืน ให้ดูเงื่อนไขเพิ่มเติม)

-----

สำหรับการคำนวณอีกแบบที่มีการตัดเวลาท้องถิ่น 
จะกระทบในลักษณะเดียวกัน 
เช่น ตามสูติบัตรเกิดอังคารเวลา 06.03น. 
ตามหลักข้างต้นต้องเป็นวันอังคาร
แต่ตามหลักจันทรคติ ตัดเวลาท้องถิ่น 
จะกำหนดให้มีการตัดเวลาท้องถิ่นออก 
คือลบด้วย 18 นาที 
เป็นช่วงเวลาจริงที่ต่างกันระหว่าง จังหวัดกรุงเทพฯ 
และจังหวัดอุบลราชธานี 
(ลองติจูด 105° เริ่มใช้ 1 เมษายน พ.ศ. 2463) 
ซึ่งใช้อ้างอิงเวลา 

เมื่อคำนวณแล้ว เวลาเกิดจริง คือ 05.45น.
(06.03น. ลบออก 18 นาที ) 
ก็จะถือว่าเป็นวันจันทร์
เพราะยังไม่ถึง 06.00น. 
ซึ่งเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่ 
----

นอกจากนี้ยังมีอีกแบบที่ใช้เวลาท้องถิ่นจังหวัดที่เกิดนั้นๆ 
เช่น เกิดจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ลบด้วย 20:39 นาที 
หรือลงลึกระดับอำเภอ ตำบล ก็มีใช้ 

นอกจากนี้
ยังมีการตัดวันอีกแบบ
ที่ใช้เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นจริงของวันนั้น ๆ 
แทนเวลา 06.00 น. 
---


เพิ่มเติม
การนับปีนักษัตร (ชวด,ฉลู,ขาล) มีความสับสนกันมาก
เพราะมีทั้งแบบไทยแบบจีน ซึ่งมีการเปลี่ยนปีแตกต่างกัน มีรายละเอียดดังนี้

ก.การเปลี่ยนปีนักษัตรแบบจีน จะเปลี่ยนตามปฎิทินจีน โดยคำนวนจากวันสารทลิบชุน立春  
โดยปกติจะเป็นวันที่ 3-4-5 กุมภาพันธ์ของทุกปี
ซึ่งอาจจะห่างจากวันตรุษจีนประมาณ 3-15 วัน  ซึ่งหลาย ๆ คนสับสนกับปีไทย
----

ข.การเปลี่ยนปีนักษัตรแบบไทย 
อันนี้ก็มีหลายมติและหลายอาจารย์ดังนี้

1.ปฎิทินโหราศาสตร์ของอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว 
จะเปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้นปีใหม่สากลหรือทุกๆวันที่ 1มกราคม ของทุกปี

2.ปฎิทินโหราศาสตร์ของ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร 
จะเปลี่ยนปีนักษัตรทุกๆวันที่ 1เมษายน ของทุกปี

3.ปฎิทินโหราศาสตร์ของ อาจารย์พันเอกสุชาติ ศุภประเสริฐ 
จะเปลี่ยนปีนักษัตรทุกๆวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี

4.ปฎิทินโหรหลวง ของหมวดโหรพรามณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง  
จะเปลี่ยนปีนักษัตรทุกๆวันขึ้น 1 ค่ำเดือนอ้ายของทุกปี
-----










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น